วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 2 มูลค่าเงินตามเวลา


บทที่ 2 มูลค่าเงินตามเวลา

ดอกเบี้ยทบต้นและมูลค่าอนาคต
                ดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest and Future Value)  จะเกิดขึ้นเมื่อดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนตลอดระยะเวลาในปีที่แรกถูกรวมเข้ากับเงินต้น  และการคิดดอกเบี้ยในปีถัดไปคำนวณมาจากเงินต้นและดอกเบี้ยที่ได้รับจากปีแรก

สมการคำนวณมูลค่าอนาคตที่มีการจ่ายดอกเบี้ยทบต้น


                           โดยที่   FVn   มูลค่าอนาคตของเงินฝากหรือเงินลงทุน ณ สิ้นปีที่ n

                                       PV    =  มูลค่าปัจจุบันของเงินฝากหรือเงินลงทุน ณ ต้นปีที่ 1
                                       n       =  จำนวนปีตลอดระยะเวลาที่มีการทบต้นเกิดขึ้น
                                       i        =  อัตราดอกเบี้ย
        ซึ่ง  ค่า (1+i) nสามารถหาได้โดยใช้ตารางปัจจัยดอกเบี้ยมูลค่าอนาคต (FVIF i,n) ได้สมการเป็น




มูลค่าปัจจุบัน (Present Value)
                มูลค่าปัจจุบัน  คือ จำนวนเงินรวม ณ เวลาปัจจุบันของเงินหรือผลตอบแทนที่จะได้รับในอนาคต  เนื่องจากเงินในปัจจุบันจะมีมูลค่ามากกว่าเงินในอนาคต  ดังนั้นในการคำนวณหามูลค่าปัจจุบัน  อัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคำนวณจึงเรียกว่า อัตราคิดลด (discount rate) ”     ซึ่งจะใช้เครื่องมือในการลดค่าของเงินที่จะได้รับในอนาคตให้น้อยลงด้วยอัตราลดค่าที่เพิ่มขึ้น

สมการคำนวณมูลค่าปัจจุบัน
                        โดยที่   FVnมูลค่าอนาคตของเงินฝากหรือเงินลงทุน ณ สิ้นปีที่ n
                                    PV    =  มูลค่าปัจจุบันหรือเงินต้น
                                    n      =  ระยะเวลาการได้รับเงินในอนาคต
                                    i        =  อัตราลดค่า (อัตราดอกเบี้ย)
         
           ซึ่ง  ค่า 1/(1+i) nสามารถหาได้โดยใช้ตารางปัจจัยดอกเบี้ยมูลค่าปัจจุบัน (PVIF i,n) ได้สมการเป็น



เงินรายงวด (Annuities)
        จำนวนเงินที่นำไปฝากธนาคารหรือนำไปลงทุนเป็นงวดๆ  ในจำนวนเงินที่เท่าๆกันอย่างสม่ำเสมอ  ซึ่งเงินรายงวดสามารถคำนวณได้ทั้งมูลค่าปัจจุบันและมูลค่าในอนาคต  โดยเงินรายงวดนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ 
          -  เงินรายงวดปลายงวด (Ordinary Annuity)
          -  เงินรายงวดต้นงวด (Annuity due)


มูลค่าอนาคตของเงินรายงวด

       มูลค่าอนาคตของเงินรายงวดปลายงวด  (Future Value of Ordinary Annuity)
   เป็นมูลค่าในอนาคตของเงินที่นำไปฝากธนาคารหรือนำไปลงทุนทุกสิ้นปีหรือทุกสิ้นงวดตลอดระยะเวลาการฝากหรือการลงทุนในจำนวนเงินที่เท่าๆกัน  ซึ่งสามารถคำนวณได้จากสมการ  
                 หรือ
                         
                                 โดยที่     FVn     =   มูลค่าอนาคตของเงินรายงวดปลายงวดที่ n
                                               PMT  =   เงินรายงวดปลายงวดหรือสิ้นปีที่ n
                                               i         =   อัตราดอกเบี้ย
                                               n        =   ระยะเวลาของการฝากเงินหรือการลงทุน

        และเราสามารถคำนวณมูลค่าอนาคตของเงินรายงวดปลายงวดได้จากการใช้ตารางปัจจัยดอกเบี้ยมูลค่าอนาคตของเงินรายงวด (FVIFA i,n) ได้ดังสมการ
        

มูลค่าอนาคตของเงินรายงวดต้นงวด  (Future Value of Annuity due)

                   เป็นมูลค่าในอนาคตของเงินที่นำไปฝากธนาคารหรือนำไปลงทุนทุกต้นปีหรือทุกต้นงวดตลอดระยะเวลาการฝากหรือการลงทุนในจำนวนเงินที่เท่าๆกัน  ซึ่งสามารถคำนวณได้จากสมการ  






มูลค่าปัจจุบันของเงินรายงวด
        
มูลค่าปัจจุบันของเงินรายงวดปลายงวด (Present Value of Ordinary Annuity)
                  เป็นการหามูลค่าปัจจุบันของเงินที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตแบบเป็นงวดๆทุกๆสิ้นปีหรือสิ้นงวด เช่นดอกเบี้ยรับจากการลงทุน ฯลฯ ซึ่งการหาค่าดังกล่าวสามารถคำนวณได้จากสมการ 

                          โดยที่        PV     =   มูลค่าปัจจุบันของเงินรายงวด
                                           PMT  =   เงินรายงวดปลายงวด
                                           i         =   อัตราคิดลด
                                           n        =   ระยะเวลา

            และเราสามารถคำนวณมูลค่าปัจจุบันของเงินรายงวดปลายงวดได้จากการใช้ตารางปัจจัยดอกเบี้ยมูลค่าปัจจุบันของเงินรายงวด (PVIFA i,n) ได้ดังสมการ 


         มูลค่าปัจจุบันของเงินรายงวดต้นงวด  (Present Value of Annuity due)
                   เป็นการหามูลค่าปัจจุบันของเงินที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตแบบเป็นงวดๆทุกๆต้นปีหรือต้นงวด เช่นดอกเบี้ยรับจากการลงทุน ฯลฯ ซึ่งการหาค่าดังกล่าวสามารถคำนวณได้จากสมการ  






การจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี
ผลตอบแทนจากการลงทุนหรือดอกเบี้ยธนาคารอาจมีการจ่ายมากกว่าหนึ่งครั้งในแต่ละปี  ซึ่งการจ่ายดอกเบี้ยและผลตอบแทนดังกล่าวจะทำให้เงินต้นที่ฝากและดอกเบี้ยที่ได้รับมีการทบต้นมากขึ้นด้วย  โดยเราสามารถคำนวณหาค่าได้จากสมการ 


       โดยที่       FVมูลค่าอนาคตของเงินฝากหรือเงินลงทุน
                       PV   =  มูลค่าปัจจุบันหรือเงินต้น
                       n      =  ระยะเวลาการได้รับเงินในอนาคต
                       m     =   จำนวนครั้งในการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนต่อปี
                                     i       =  อัตราดอกเบี้ย


มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดแต่ละงวดไม่เท่ากัน
                การที่ฝากเงินธนาคารหรือนำเงินไปลงทุนในแต่ละครั้งเป็นจำนวนเงินไม่เท่ากัน  รวมถึงการที่ได้รับดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เท่ากันในแต่ละงวด  ซึ่งการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดแต่ละงวดไม่เท่ากันนั้นสามารถหาได้จากผลรวมของมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดแต่ละงวดนั้นเอง


เงินรายงวดต่อเนื่อง (Perpetuities)
                เป็นลักษณะของเงินที่จะได้รับเท่าๆกันทุกงวดอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีกำหนด เวลาสิ้นสุด เช่น เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิ ฯลฯ  ซึ่งปกติเงินรายงวดต่อเนื่องนี้จะไม่สามารถคำนวณมูลค่าอนาคตได้  แต่สามารถคำนวณมูลค่าปัจจุบันของเงินรายงวดต่อเนื่องได้เท่ากัน  โดยการคำนวณสามารถหาได้จากสมการ
                            โดยที่     PVP  =  มูลค่าปัจจุบันของเงินงวดต่อเนื่อง
                                          PP     =   เงินรายงวดต่อเนื่อง
                                          i        =   อัตราลดค่าหรืออัตราผลตอบแทน


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

1.ดอกเบี้ยทบต้นจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่
ตอบ  ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนตลอดระยะเวลาในปีที่แรกถูกรวมเข้ากับเงินต้น  และการคิดดอกเบี้ยในปีถัดไปคำนวณมาจากเงินต้นและดอกเบี้ยที่ได้รับจากปีแรก
2.เงินรายงวด แบ่งออกเป็นกี่กรณี อะไรบ้าง
ตอบ   2 กรณี คือ 
        - เงินรายงวดปลายงวด (Ordinary Annuity)
        - เงินรายงวดต้นงวด (Annuity due)
3.เงินรายงวดปลายงวดกับเงินรายงวดต้นงวดแตกต่างกะนอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ       เงินรายงวดปลายงวดเป็นการหามูลค่าปัจจุบันของเงินที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตแบบเป็นงวดๆทุกๆสิ้นปีหรือสิ้นงวด
                ส่วน เงินรายงวดต้นงวด เป็นการหามูลค่าปัจจุบันของเงินที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตแบบเป็นงวดๆทุกๆต้นปีหรือต้นงวด
4. PVP คืออะไร
ตอบ  มูลค่าปัจจุบันของเงินต่องวด
5. สมการการหามูลค่าปัจจุบันคืออะไร
ตอบ  












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น