วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 8 ต้นทุนของเงินทุน

บทที่ 8 ต้นทุนของเงินทุน  (Cost of Capital)

ต้นทุนทางการเงิน
                คือ อัตราผลตอบแทนที่จะได้รับจากโครงการลงทุนและอัตราผลตอบแทนที่ต้องการนี้ถือว่าเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสของนักลงทุนที่จะได้รับผลตอบแทนจากโครงการลงทุนอื่นๆ

ปัจจัยที่ทำให้อัตราผลตอบแทนของนักลงทุนและต้นทุนแตกต่างกัน
                1.ภาษี
เมื่อบริษัทกู้เงินทุนเพื่อนำไปลงทุนในทรัพย์สิน ดอกเบี้ยจะถูกหักออกจากการคำนวณภาษี ฉะนั้นอัตราดอกเบี้ยที่กู้มาจะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่เป็นต้นทุนของเงินกู้จริง
                2.ค่าใช้จ่ายในการออกและจำหน่ายหลักทรัพย์คือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อบริษัทมีการจัดหาเงินทุนโดยการออกหลักทรัพย์แต่ละประเภท

นโยบายการเงินและต้นทุนของเงินทุน
นโยบายการเงินของบริษัท คือ นโยบายเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเงินทุนที่บริษัทวางแผนจะใช้ในการลงทุน  และสัดส่วนของเงินทุนแต่ละแหล่งที่บริษัทจัดหามาเพื่อนำไปใช้ในการลงทุนของบริษัท

การคำนวณต้นทุนของเงินทุนในแหล่งต่างๆ มี 3 ประเภทได้แก่
                1.หุ้นกู้    คือ    ผลตอบแทนที่เจ้าหนี้ได้รับจากการให้กู้ยืม


สูตรในการคำนวณ  

                            โดยที่   NPd  =  มูลค่าหุ้นกู้สุทธิที่ได้รับจากการขายหุ้นกู้

                                        n       = กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนของหุ้นกู้
                                        ltดอกเบี้ยจ่าย ณ เวลา t ถึง n
                                        M   = เงินต้นได้รับคืนเมื่อหุ้นกู้ครบกำหนดไถ่ถอน
                                        kd =  อัตราผลตอบแทนที่ต้องการของเจ้าหนี้หรือต้นทุนของหนี้สิน
               *จากการคำนวณต้นทุนต้องคำนวณต้นทุนของเงินทุนหลังภาษีเสมอ
                สูตรต้นทุนของหุ้นกู้หลังภาษี  =  kd(1-T)   ซึ่ง T คือ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

สูตรคำนวณโดยการใช้ตาราง


                               โดยที่   NPd  =  มูลค่าหุ้นกู้สุทธิที่ได้รับจากการขายหุ้นกู้

                                           n       =  กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนของหุ้นกู้
                                           lt        ดอกเบี้ยจ่าย ณ เวลา t ถึง n
                                           M     =  เงินต้นได้รับคืนเมื่อหุ้นกู้ครบกำหนดไถ่ถอน
                                           kd     =  อัตราผลตอบแทนที่ต้องการของเจ้าหนี้หรือต้นทุนของหนี้สิน

                    2.หุ้นบุริมสิทธิ


สูตรในการคำนวณ
                            โดยที่     kps   = อัตราต้นทุนของหุ้นบุริมสิทธิ
                                          Dps  = เงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ
                                          NPps=มูลค่าหุ้นบุริมสิทธิสุทธิที่ได้รับจากการขายหุ้น

                   
                   3.หุ้นสามัญ มี 2 วิธี คือ แบบจำลองการเติบโตของเงินปันผล และ แบบจำลองการประเมินทรัพย์สินส่วนทุน

1.แบบจำลองการเติบโตของเงินปันผล หรือ Kes

                     สูตรในการคำนวณ

                               *D1 =D0(1+g)โดยที่ D0 = เงินปันผลหุ้นสามัญปัจจุบัน

        โดยที่ kcs  = อัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นสามัญต้องการ
    D1   เงินปันผลหุ้นสามัญที่คาดว่าจะได้รับในปีที่ 1
                  Pcs  = มูลค่าหุ้นสามัญหรือราคาตลาดของหุ้นสามัญ
                  g    = อัตราการเติบโตของเงินปันผลหุ้นสามัญ

                2.แบบจำลองการประเมินทรัพย์สินส่วนทุน หรือ Kc

                      สูตรในการคำนวณ
                  โดยที่ kc  = อัตราค่าตอบแทนที่ต้องการของผู้ถือหุ้น หรือ ต้นทุนของหุ้นสามัญ

                            krf  อัตราค่าตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยง เช่น พันธบัตรรัฐบาล
                            kอัตราค่าตอบแทนของตลาดโดยรวม
                            ß    = ค่าสัมประสิทธิ์เบต้าของหลักทรัพย์

แบบจำลองนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ  ได้แก่
    1.)อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยง (risk-free rate หรือ k rf 
    2.)ความเสี่ยงที่เป็นระบบของผลตอบแทนหุ้นสามัญที่สัมพันธ์กับตลาดโดยรวม หรือ ค่าสัมประสิทธิเบต้าของหลักทรัพย์ (stock beta coefficient หรือ ß)
  3.)ส่วนชดเชยความเสี่ยงของตลาด = อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์เฉลี่ย หักด้วย  อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยง (km + krf)


ต้นทุนของเงินทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
การคำนวณต้นทุนของเงินเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักมีความจำเป็นจะต้องทราบต้นทุนของเงินทุนแต่ละแหลางที่บริษัทได้จัดหามาและจะต้องทราบโครงสร้างเงินทุนของบริษัทด้วย

สูตรในการคำนวณ

                               โดยที่   wd  สัดส่วนของหนี้สินในโครงสร้างเงินทุน

                              wpsสัดส่วนของหุ้นบุริมสิทธิ
                              wcs สัดส่วนของส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ

หมายเหตุ     1.ผลรวมของสัดส่วนเงินทุนเมื่อรวมกันต้องเท่ากับ 1 เสมอ
   2.สัดส่วนของส่วนของผู้ถือหุ้น (wcs) สามารถใช้ได้ทั้งต้นทุนของกำไรสะสม (kr) หรือต้นทุนของหุ้นสามัญใหม่ (kncs)


ต้นทุนของเงินทุนส่วนเพิ่ม
                เมื่อบริษัทมีความจำเป็นที่จะต้องการเงินทุนเพิ่มขึ้น นั่นคือ เงินทุนที่จัดหาเพิ่มจะต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นต้นทุนของเงินทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจะต้องเพิ่มขึ้นด้วย

สูตรในการคำนวณ

                                โดยที่ BP= ระดับของเงินทุนส่วนเพิ่มที่ทำให้ต้นทุนของเงินทุนเปลี่ยนแปลง

                                          AF= จำนวนเงินทุนที่มีอยู่ของแหล่งเงินทุนj
                                          Wj  = สัดส่วนของแหล่งเงินทุนj (โครงสร้างเงินทุนเป้าหมาย)


      คำนวณหาระดับของเงินทุนที่ทำให้ต้นทุนเปลี่ยนแปลงก่อน จากแหล่งของเงินทุนมีมาจาก 2 แหล่ง
-                  
               1.ในส่วนของเงินทุน


-                   
                   2. ในส่วนของหนี้สิน


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8


1.เครื่องมือพื้นฐานใดบ้างที่บริษัทใช้เพื่อจัดหาเงินทุน มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ       3 ประเภท ได้แก่   1.หุ้นกู้ 
                                                   2.หุ้นบุริมสิทธิ
                                                   3.หุ้นสามัญ
2.ความเสี่ยงที่เป็นระบบของผลตอบแทนของหุ้นสามัญที่สัมพันธ์กับตลาดโดยรวมเรียกอีกอย่างว่าอะไร
ตอบ  ค่าสัมประสิทธิ์เบต้าของหลักทรัพย์
3.บริษัทTripleMจำกัด มีการซื้อขายหุ้นบุริมสิทธิ ซึ่งหุ้นบุริมสิทธิมีการจ่ายปันผลหุ้นละ 3.75 บาท และราคาปิดหุ้นในวันที่ 9 กันยายน 2558 เท่ากับ 60.375 บาท สมมติบริษัทออกหุ้นบุริมสิทธิใหม่ จำหน่ายในราคาขายเท่ากับราคาปิดในวันที่ 9 กันยายน 2558 ถ้าต้องเสียค่าใช้จ่ายในการออกจำหน่ายเท่ากับ 2.375 บาท อยากทราบว่าต้นทุนหุ้นบุริมสิทธิเป็นเท่าใด
4.หุ้นสามัญของบริษัท ม่านฟ้า จำกัด มีค่าสัมประสิทธิ์เบต้าเท่ากับ 0.75 มีผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยงเท่ากับ 7% และอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังของตลาดเท่ากับ 17 % อยากทราบว่าต้นทุนของหุ้นสามัญเป็นเท่าใด

5.บริษัทแห่งหนึ่งใช้เงินทุนหลักจาก 3 แห่งใหญ่ๆโดยมีรายละเอียดดังนี้

















บทที่ 2 มูลค่าเงินตามเวลา


บทที่ 2 มูลค่าเงินตามเวลา

ดอกเบี้ยทบต้นและมูลค่าอนาคต
                ดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest and Future Value)  จะเกิดขึ้นเมื่อดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนตลอดระยะเวลาในปีที่แรกถูกรวมเข้ากับเงินต้น  และการคิดดอกเบี้ยในปีถัดไปคำนวณมาจากเงินต้นและดอกเบี้ยที่ได้รับจากปีแรก

สมการคำนวณมูลค่าอนาคตที่มีการจ่ายดอกเบี้ยทบต้น


                           โดยที่   FVn   มูลค่าอนาคตของเงินฝากหรือเงินลงทุน ณ สิ้นปีที่ n

                                       PV    =  มูลค่าปัจจุบันของเงินฝากหรือเงินลงทุน ณ ต้นปีที่ 1
                                       n       =  จำนวนปีตลอดระยะเวลาที่มีการทบต้นเกิดขึ้น
                                       i        =  อัตราดอกเบี้ย
        ซึ่ง  ค่า (1+i) nสามารถหาได้โดยใช้ตารางปัจจัยดอกเบี้ยมูลค่าอนาคต (FVIF i,n) ได้สมการเป็น




มูลค่าปัจจุบัน (Present Value)
                มูลค่าปัจจุบัน  คือ จำนวนเงินรวม ณ เวลาปัจจุบันของเงินหรือผลตอบแทนที่จะได้รับในอนาคต  เนื่องจากเงินในปัจจุบันจะมีมูลค่ามากกว่าเงินในอนาคต  ดังนั้นในการคำนวณหามูลค่าปัจจุบัน  อัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคำนวณจึงเรียกว่า อัตราคิดลด (discount rate) ”     ซึ่งจะใช้เครื่องมือในการลดค่าของเงินที่จะได้รับในอนาคตให้น้อยลงด้วยอัตราลดค่าที่เพิ่มขึ้น

สมการคำนวณมูลค่าปัจจุบัน
                        โดยที่   FVnมูลค่าอนาคตของเงินฝากหรือเงินลงทุน ณ สิ้นปีที่ n
                                    PV    =  มูลค่าปัจจุบันหรือเงินต้น
                                    n      =  ระยะเวลาการได้รับเงินในอนาคต
                                    i        =  อัตราลดค่า (อัตราดอกเบี้ย)
         
           ซึ่ง  ค่า 1/(1+i) nสามารถหาได้โดยใช้ตารางปัจจัยดอกเบี้ยมูลค่าปัจจุบัน (PVIF i,n) ได้สมการเป็น



เงินรายงวด (Annuities)
        จำนวนเงินที่นำไปฝากธนาคารหรือนำไปลงทุนเป็นงวดๆ  ในจำนวนเงินที่เท่าๆกันอย่างสม่ำเสมอ  ซึ่งเงินรายงวดสามารถคำนวณได้ทั้งมูลค่าปัจจุบันและมูลค่าในอนาคต  โดยเงินรายงวดนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ 
          -  เงินรายงวดปลายงวด (Ordinary Annuity)
          -  เงินรายงวดต้นงวด (Annuity due)


มูลค่าอนาคตของเงินรายงวด

       มูลค่าอนาคตของเงินรายงวดปลายงวด  (Future Value of Ordinary Annuity)
   เป็นมูลค่าในอนาคตของเงินที่นำไปฝากธนาคารหรือนำไปลงทุนทุกสิ้นปีหรือทุกสิ้นงวดตลอดระยะเวลาการฝากหรือการลงทุนในจำนวนเงินที่เท่าๆกัน  ซึ่งสามารถคำนวณได้จากสมการ  
                 หรือ
                         
                                 โดยที่     FVn     =   มูลค่าอนาคตของเงินรายงวดปลายงวดที่ n
                                               PMT  =   เงินรายงวดปลายงวดหรือสิ้นปีที่ n
                                               i         =   อัตราดอกเบี้ย
                                               n        =   ระยะเวลาของการฝากเงินหรือการลงทุน

        และเราสามารถคำนวณมูลค่าอนาคตของเงินรายงวดปลายงวดได้จากการใช้ตารางปัจจัยดอกเบี้ยมูลค่าอนาคตของเงินรายงวด (FVIFA i,n) ได้ดังสมการ
        

มูลค่าอนาคตของเงินรายงวดต้นงวด  (Future Value of Annuity due)

                   เป็นมูลค่าในอนาคตของเงินที่นำไปฝากธนาคารหรือนำไปลงทุนทุกต้นปีหรือทุกต้นงวดตลอดระยะเวลาการฝากหรือการลงทุนในจำนวนเงินที่เท่าๆกัน  ซึ่งสามารถคำนวณได้จากสมการ  






มูลค่าปัจจุบันของเงินรายงวด
        
มูลค่าปัจจุบันของเงินรายงวดปลายงวด (Present Value of Ordinary Annuity)
                  เป็นการหามูลค่าปัจจุบันของเงินที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตแบบเป็นงวดๆทุกๆสิ้นปีหรือสิ้นงวด เช่นดอกเบี้ยรับจากการลงทุน ฯลฯ ซึ่งการหาค่าดังกล่าวสามารถคำนวณได้จากสมการ 

                          โดยที่        PV     =   มูลค่าปัจจุบันของเงินรายงวด
                                           PMT  =   เงินรายงวดปลายงวด
                                           i         =   อัตราคิดลด
                                           n        =   ระยะเวลา

            และเราสามารถคำนวณมูลค่าปัจจุบันของเงินรายงวดปลายงวดได้จากการใช้ตารางปัจจัยดอกเบี้ยมูลค่าปัจจุบันของเงินรายงวด (PVIFA i,n) ได้ดังสมการ 


         มูลค่าปัจจุบันของเงินรายงวดต้นงวด  (Present Value of Annuity due)
                   เป็นการหามูลค่าปัจจุบันของเงินที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตแบบเป็นงวดๆทุกๆต้นปีหรือต้นงวด เช่นดอกเบี้ยรับจากการลงทุน ฯลฯ ซึ่งการหาค่าดังกล่าวสามารถคำนวณได้จากสมการ  






การจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี
ผลตอบแทนจากการลงทุนหรือดอกเบี้ยธนาคารอาจมีการจ่ายมากกว่าหนึ่งครั้งในแต่ละปี  ซึ่งการจ่ายดอกเบี้ยและผลตอบแทนดังกล่าวจะทำให้เงินต้นที่ฝากและดอกเบี้ยที่ได้รับมีการทบต้นมากขึ้นด้วย  โดยเราสามารถคำนวณหาค่าได้จากสมการ 


       โดยที่       FVมูลค่าอนาคตของเงินฝากหรือเงินลงทุน
                       PV   =  มูลค่าปัจจุบันหรือเงินต้น
                       n      =  ระยะเวลาการได้รับเงินในอนาคต
                       m     =   จำนวนครั้งในการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนต่อปี
                                     i       =  อัตราดอกเบี้ย


มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดแต่ละงวดไม่เท่ากัน
                การที่ฝากเงินธนาคารหรือนำเงินไปลงทุนในแต่ละครั้งเป็นจำนวนเงินไม่เท่ากัน  รวมถึงการที่ได้รับดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เท่ากันในแต่ละงวด  ซึ่งการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดแต่ละงวดไม่เท่ากันนั้นสามารถหาได้จากผลรวมของมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดแต่ละงวดนั้นเอง


เงินรายงวดต่อเนื่อง (Perpetuities)
                เป็นลักษณะของเงินที่จะได้รับเท่าๆกันทุกงวดอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีกำหนด เวลาสิ้นสุด เช่น เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิ ฯลฯ  ซึ่งปกติเงินรายงวดต่อเนื่องนี้จะไม่สามารถคำนวณมูลค่าอนาคตได้  แต่สามารถคำนวณมูลค่าปัจจุบันของเงินรายงวดต่อเนื่องได้เท่ากัน  โดยการคำนวณสามารถหาได้จากสมการ
                            โดยที่     PVP  =  มูลค่าปัจจุบันของเงินงวดต่อเนื่อง
                                          PP     =   เงินรายงวดต่อเนื่อง
                                          i        =   อัตราลดค่าหรืออัตราผลตอบแทน


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

1.ดอกเบี้ยทบต้นจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่
ตอบ  ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนตลอดระยะเวลาในปีที่แรกถูกรวมเข้ากับเงินต้น  และการคิดดอกเบี้ยในปีถัดไปคำนวณมาจากเงินต้นและดอกเบี้ยที่ได้รับจากปีแรก
2.เงินรายงวด แบ่งออกเป็นกี่กรณี อะไรบ้าง
ตอบ   2 กรณี คือ 
        - เงินรายงวดปลายงวด (Ordinary Annuity)
        - เงินรายงวดต้นงวด (Annuity due)
3.เงินรายงวดปลายงวดกับเงินรายงวดต้นงวดแตกต่างกะนอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ       เงินรายงวดปลายงวดเป็นการหามูลค่าปัจจุบันของเงินที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตแบบเป็นงวดๆทุกๆสิ้นปีหรือสิ้นงวด
                ส่วน เงินรายงวดต้นงวด เป็นการหามูลค่าปัจจุบันของเงินที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตแบบเป็นงวดๆทุกๆต้นปีหรือต้นงวด
4. PVP คืออะไร
ตอบ  มูลค่าปัจจุบันของเงินต่องวด
5. สมการการหามูลค่าปัจจุบันคืออะไร
ตอบ